สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) พันธุ์สัตว์พระราชทาน
สารบัญ
สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) สุกรพันธุ์จินหัวเป็นสุกรที่รู้จักกันดีในชื่อของ "two end black" โดยมีลักษณะลำตัวสีขาว และมีสีดำที่ส่วนหัวและสะโพก ซึ่งส่วนสะโพกของสุกรจินหัวที่รู้จักกันดีในชื่อของ Jinhua ham จะมีรสชาติอร่อย สีสวยสด และมีชื่อเสียงมากในตลาดระดับสูงของโลก สุกรพันธุ์จินหัวมีถิ่นกำเนิดในจังหวัด Zhejiang มณฑลเซี่ยงไฮ้ ของประเทศจีน เป็นสุกรที่มีรูปร่างขนาดกลาง หูขนาดปานกลางและปรก ส่วนหลังแอ่นเล็กน้อย และมีลักษณะเฉพาะคือหนังบาง กระดูกเล็ก และให้เนื้อที่มีความนุ่มดีมากหลังจากผ่านกระบวนการที่จำเพาะแล้ว เนื้อของสุกรพันธุ์จินหัวได้รับการทดสอบและแสดงถึงคุณภาพที่ดีในส่วนของ dry matter, fat, pH, water binding capacity, total pigmant และ iodine value เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรพันธุ์แลนด์เรซ ส่วนของแฮมที่ได้จากสุกรพันธุ์จินหัวจะมีความคงทนและสามารถเก็บรักษาได้นาน และมี oil-dropings ที่ดีมาก นอกจากนี้ยังแสดงอาการเป็นสัดชัดเจน ทำให้ตรวจเช็คการเป็นสัดได้ง่าย
สุกรพันธุ์จินหัวเป็นสุกรที่พบเฉพาะทางตอนกลางของประเทศจีน ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแม่น้ำ Changjiang และ Zhujiang ซึ่งเป็นเขตที่มีภูมิอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น ในบริเวณแถบนี้เป็นพื้นที่ที่การเกษตรกรรมมีการพัฒนาไปมากแล้ว และปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ซึ่งผลผลิตข้าวเหล่านี้ใช้เป็นแหล่งอาหารสุกรได้เป็นอย่างดี
|
ภาพที่ 1 สุกรพันธุ์จินหัว |
1.จำนวนเต้านมเฉลี่ย | 16 เต้า |
2.อายุโตเต็มวัย (เป็นหนุ่ม-สาว) | 3-4 เดือน |
3.จำนวนลูกแรกคลอดเฉลี่ย | 4.3 ตัว |
4.น้ำหนักพ่อพันธุ์โตเต็มที่ | 140 กิโลกรัม |
5.น้ำหนักแม่พันธุ์โตเต็มที่ | 110 กิโลกรัม |
6.อายุส่งตลาดเมื่อ 8 - 9 เดือน น้ำหนัก | 63-76 กิโลกรัม |
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้น้อมเกล้าถวายสุกรพันธุ์จินหัว จำนวน 2 คู่ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2542 โดยสุกรดังกล่าวได้เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 และได้นำไปเลี้ยงดูที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับโครงการฟาร์มตัวอย่างสีบัวทอง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง และส่งมอบให้หน่วยงานอื่น เพื่อขยายพันธุ์และนำไปใช้ประโยชน์ตามโครงการพระราชดำริ
จากการที่สุกรพันธุ์จินหัวเป็นสุกรที่มีชื่อเสียงในด้านการใช้เนื้อส่วนสะโพกไปทำแฮม กรมปศุสัตว์ ได้ศึกษาสมรรถภาพการให้ผลผลิต โดยทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง สุกรพันธุ์จินหัว กับ สุกรพันธุ์แลนด์เรซ สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ สุกรพันธุ์ดูร็อค สุกรพันธุ์เปียแตรง สุกรพันธุ์แฮมเชียร์ สุกรพันธุ์เหมยซาน และสุกรพื้นเมือง เพื่อนำสุกรลูกผสมที่เกิดไปทำการทดสอบพันธุ์ ศึกษาสมรรถภาพการให้ผลผลิต
|
ภาพที่ 2 สุกรพันธุ์จินหัวที่มาถึงประเทศไทย และเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร |
จากการศึกษาสมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้ได้ข้อมูลดังนี้
เพศ | ข้อมูล |
จำนวนสุกร | AGE90 | ADG | FCR | BF | L1 | G | H | LEA |
เพศเมีย | 18 | 337.83 | 302.85 | 4.15 | 1.81 | 86.94 | 90.22 | 54.56 | 16.67 |
เพศผู้ | 27 | 359.44 | 262.36 | 4.31 | 1.42 | 90.15 | 87.89 | 57.67 | 20.22 |
|
ภาพที่ 3 สุกรพันธุ์จินหัว |
จากการศึกษาสมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมสองสายจินหัว ได้ข้อมูลดังนี้
เพศ/สายพันธุ์ | ข้อมูล |
จำนวนสุกร | AGE90 | ADG | FCR | BF | L1 | G | H | LEA |
เพศเมีย | 53 | 191.63 | 571.20 | 3.42 | 2.57 | 102.66 | 105.49 | 61.58 | 30.75 |
JHxD | 6 | 174.82 | 608.73 | 3.34 | 2.83 | 105.17 | 109.83 | 64.33 | 32.60 |
JHxH | 5 | 210.57 | 501.28 | 3.50 | 2.26 | 103.00 | 105.80 | 63.40 | 33.15 |
JHxLR | 13 | 159.62 | 680.78 | 3.15 | 2.50 | 105.54 | 106.15 | 62.54 | 31.16 |
JHxLW | 12 | 174.41 | 616.09 | 3.34 | 2.56 | 102.33 | 105.33 | 62.25 | 31.31 |
JHxM | 3 | 237.74 | 410.28 | 3.61 | 2.28 | 92.67 | 94.33 | 55.00 | 25.61 |
JHxPT | 7 | 197.55 | 527.28 | 3.49 | 2.59 | 102.29 | 107.57 | 60.86 | 32.57 |
เพศผู้ | 48 | 186.85 | 591.35 | 3.45 | 2.50 | 105.02 | 104.15 | 63.33 | 29.54 |
JHxD | 7 | 164.89 | 679.60 | 3.37 | 2.70 | 104.86 | 105.86 | 64.71 | 30.03 |
JHxLR | 12 | 166.54 | 658.32 | 3.20 | 1.98 | 107.25 | 102.13 | 64.67 | 29.69 |
JHxLW | 10 | 176.26 | 637.55 | 3.20 | 2.48 | 105.70 | 104.60 | 63.70 | 29.53 |
JHxM | 3 | 243.08 | 405.79 | 3.89 | 2.25 | 92.33 | 95.00 | 58.00 | 24.55 |
JHxPT | 7 | 192.29 | 544.07 | 3.59 | 2.69 | 104.00 | 106.57 | 62.86 | 31.66 |
จากการศึกษาสมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมสามสายจินหัว ได้ข้อมูลดังนี้
เพศสายพันธุ์ | ข้อมูล |
จำนวนสุกร | AGE90 | ADG | FCR | BF | L1 | G | H | LEA |
เพศเมีย สามสาย | 7 | 255.83 | 421.38 | 3.95 | 2.84 | 100.14 | 103.29 | 58.57 | 26.31 |
เพศผู้ สามสาย | 9 | 219.79 | 480.73 | 3.89 | 2.98 | 106.44 | 106.17 | 62.22 | 29.00 |
คำอธิบายตารางสมรรถภาพการผลิต
- AGE90: อายุเมื่อน้ำหนัก 90 กิโลกรัม (วัน)
- ADG: อัตราการเจริญเติบโต (กรัมต่อวัน)
- FCR: ประสิทธิภาพการใช้อาหาร
- BF: ความหนาไขมันสันหลัง (เซ็นติเมตร)
- L1: ความยาวลำตัววัดจากซอกหูถึงโคนหาง (เซ็นติเมตร)
- G: ความยาวรอบอก (เซ็นติเมตร)
- H: ความสูง (เซ็นติเมตร)
- LEA: พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (ตารางเซ็นติเมตร)
|
ภาพที่ 4 ลูกผสมสุกรพันธุ์จินหัว |
จากการดูแลสุกรพันธุ์จินหัวโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สุกร มีข้อมูลการให้ลูกดังนี้
รายการ | จำนวน |
1. จำนวนครอกที่คลอด | 43 |
2. จำนวนลูกสุกรคลอดเฉลี่ย (ตัว/ครอก) | 6.98 |
3. จำนวนลูกสุกรคลอดมีชีวิตเฉลี่ย (ตัว/ครอก) | 4.42 |
4. จำนวนลูกสุกรหย่านมเฉลี่ย (ตัว/ครอก) | 3.23 |
5. น้ำหนักลูกแรกคลอดเฉลี่ย (ก.ก./ตัว) | 0.90 |
6. น้ำหนักลูกหย่านมเฉลี่ย (ก.ก./ตัว) | 4.11 |
|
ภาพที่ 5 การให้ลูกของสุกรพันธุ์จินหัว |
สุกรพันธุ์จินหัวได้นำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบของสุกรพันธุ์แท้ และสุกรลูกผสม โดยกระจายไปยังหน่วยงานต่างๆของกรมปศุสัตว์ โครงการฟาร์มตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์การสร้างเสริมอาชีพ และเพิ่มแหล่งโปรตีนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และชนเผ่า ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ร่วมกับโครงการฟาร์มตัวอย่างได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้ และลูกผสม เพื่อสร้างการรับรู้และให้เกิดการยอมรับในคุณภาพเนื้อที่มีความจำเพาะ แต่เนื่องจากสุกรพันธุ์จินหัวไม่สามารถจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปได้ การขยายตลาดและการเพิ่มจำนวนประชากรจึงยังคงอยู่ในแวดวงจำกัด
|
ภาพที่ 6 การศึกษาคุณภาพเนื้อและคุณภาพซากสุกรพันธุ์จินหัว |
วัน เดือน ปี | หน่วยงาน | ผู้จำนวน | เมียจำนวน | รวม |
26-พ.ย.-42 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย | 1 | 1 | 2 |
14-พ.ย.-45 | สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร | 2 | 3 | 5 |
14-พ.ย.-45 | โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านบ่อหวี จังหวัดราชบุรี | 1 | 3 | 4 |
10-ก.ย.-46 | ฟาร์มตัวอย่างบ้านคลองชีพ จังหวัดพัทลุง | 2 | 6 | 8 |
7-มิ.ย.-47 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง | 1 | - | 1 |
19-ม.ค.-48 | สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครสวรรค์ | 1 | - | 1 |
2-ก.พ.-48 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง | 1 | 1 | 2 |
16-ก.พ.-48 | ฟาร์มตัวอย่างบ้านคลองชีพ จังหวัดพัทลุง | 1 | - | 1 |
28-เม.ย.-48 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง | 1 | 2 | 3 |
13-ม.ค.-49 | โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ | 1 | - | 1 |
6-มี.ค.-49 | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น และดอยผาจิก บ้านร่มฟ้าทอง จังหวัดเชียงราย | 1 | 1 | 2 |
21-ส.ค.-49 | ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานีตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง | 1 | 2 | 3 |
19-ธ.ค.-49 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง | 1 | 3 | 4 |
19-ก.พ.-50 | ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทองตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง | 2 | 1 | 3 |
รวม | 17 | 23 | 40 |
ตารางที่แสดงสุกรพันธุ์จินหัวลูกผสมที่ส่งมอบให้หน่วยงานอื่น
วัน เดือน ปี | หน่วยงาน | ผู้จำนวน(ตัว) | เมียจำนวน(ตัว) | รวม (ตัว) |
3-ต.ค.-43 | กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จังหวัดชลบุรี | 2 | 10 | 12 |
16-พ.ย.-43 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย | 2 | 10 | 12 |
26-พ.ย.-43 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ | 1 | 13 | 14 |
11-ม.ค.-44 | ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านแม่ตุงติง | 3 | 7 | 10 |
13-พ.ย.-45 | สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร | 2 | 2 | 4 |
6-ธ.ค.-50 | สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร | 12 | 4 | 16 |
รวม | 22 | 46 | 68 |
ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกรมีสุกรพันธุ์จินหัวอยู่ในความดูแลจำนวน 16 ตัว ประกอบด้วย สุกรพ่อพันธุ์ จำนวน 3 ตัว สุกรแม่พันธุ์ 13 ตัว ยังไม่มีลูกสุกร รายละเอียดตามตารางข้างล่าง
ประเภทสุกร | เพศเมีย | เพศผู้ | รวม |
พ่อพันธุ์ | - | 3 | 3 |
แม่พันธุ์ | 5 | - | 5 |
แม่สาว | 1 | - | 1 |
สุกรทดแทน | - | 7 | 7 |
ผลรวมทั้งหมด | 6 | 10 | 16 |
ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565