สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) พันธุ์สัตว์พระราชทาน

สารบัญ

 ลำดับ  หัวข้อเรื่อง
 1. สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) พันธุ์สัตว์พระราชทาน
 2. ลักษณะทั่วไปของสุกรพันธุ์จินหัว
 3. แผนการศึกษาพันธุกรรมและผลผลิต
4. สมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้
5. สมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมสองสายจินหัว
6. สมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมสามสายจินหัว
7. ข้อมูลการให้ลูกของสุกรพันธุ์จินหัว
8 การนำไปใช้ประโยชน์
9. สุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้ที่ส่งมอบให้หน่วยงานอื่น
10 สถานะปัจจุบัน

สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) พันธุ์สัตว์พระราชทาน

สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) สุกรพันธุ์จินหัวเป็นสุกรที่รู้จักกันดีในชื่อของ "two end black" โดยมีลักษณะลำตัวสีขาว และมีสีดำที่ส่วนหัวและสะโพก ซึ่งส่วนสะโพกของสุกรจินหัวที่รู้จักกันดีในชื่อของ Jinhua ham จะมีรสชาติอร่อย สีสวยสด และมีชื่อเสียงมากในตลาดระดับสูงของโลก สุกรพันธุ์จินหัวมีถิ่นกำเนิดในจังหวัด Zhejiang มณฑลเซี่ยงไฮ้ ของประเทศจีน เป็นสุกรที่มีรูปร่างขนาดกลาง หูขนาดปานกลางและปรก ส่วนหลังแอ่นเล็กน้อย และมีลักษณะเฉพาะคือหนังบาง กระดูกเล็ก และให้เนื้อที่มีความนุ่มดีมากหลังจากผ่านกระบวนการที่จำเพาะแล้ว เนื้อของสุกรพันธุ์จินหัวได้รับการทดสอบและแสดงถึงคุณภาพที่ดีในส่วนของ dry matter, fat, pH, water binding capacity, total pigmant และ iodine value เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรพันธุ์แลนด์เรซ ส่วนของแฮมที่ได้จากสุกรพันธุ์จินหัวจะมีความคงทนและสามารถเก็บรักษาได้นาน และมี oil-dropings ที่ดีมาก นอกจากนี้ยังแสดงอาการเป็นสัดชัดเจน ทำให้ตรวจเช็คการเป็นสัดได้ง่าย

สุกรพันธุ์จินหัวเป็นสุกรที่พบเฉพาะทางตอนกลางของประเทศจีน ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแม่น้ำ Changjiang และ Zhujiang ซึ่งเป็นเขตที่มีภูมิอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น ในบริเวณแถบนี้เป็นพื้นที่ที่การเกษตรกรรมมีการพัฒนาไปมากแล้ว และปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ซึ่งผลผลิตข้าวเหล่านี้ใช้เป็นแหล่งอาหารสุกรได้เป็นอย่างดี

สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua)
ภาพที่ 1 สุกรพันธุ์จินหัว

ลักษณะทั่วไปของสุกรพันธุ์จินหัว

1.จำนวนเต้านมเฉลี่ย  16 เต้า 
2.อายุโตเต็มวัย (เป็นหนุ่ม-สาว) 3-4 เดือน
3.จำนวนลูกแรกคลอดเฉลี่ย 4.3 ตัว
4.น้ำหนักพ่อพันธุ์โตเต็มที่ 140 กิโลกรัม
5.น้ำหนักแม่พันธุ์โตเต็มที่ 110 กิโลกรัม
6.อายุส่งตลาดเมื่อ 8 - 9 เดือน น้ำหนัก  63-76 กิโลกรัม

รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้น้อมเกล้าถวายสุกรพันธุ์จินหัว จำนวน 2 คู่ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2542 โดยสุกรดังกล่าวได้เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 และได้นำไปเลี้ยงดูที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับโครงการฟาร์มตัวอย่างสีบัวทอง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง และส่งมอบให้หน่วยงานอื่น เพื่อขยายพันธุ์และนำไปใช้ประโยชน์ตามโครงการพระราชดำริ

แผนการศึกษาพันธุกรรมและผลผลิต

จากการที่สุกรพันธุ์จินหัวเป็นสุกรที่มีชื่อเสียงในด้านการใช้เนื้อส่วนสะโพกไปทำแฮม กรมปศุสัตว์ ได้ศึกษาสมรรถภาพการให้ผลผลิต โดยทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง สุกรพันธุ์จินหัว กับ สุกรพันธุ์แลนด์เรซ สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ สุกรพันธุ์ดูร็อค สุกรพันธุ์เปียแตรง สุกรพันธุ์แฮมเชียร์ สุกรพันธุ์เหมยซาน และสุกรพื้นเมือง เพื่อนำสุกรลูกผสมที่เกิดไปทำการทดสอบพันธุ์ ศึกษาสมรรถภาพการให้ผลผลิต

สมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้
ภาพที่ 2 สุกรพันธุ์จินหัวที่มาถึงประเทศไทย และเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

จากการศึกษาสมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้ได้ข้อมูลดังนี้

เพศ ข้อมูล
จำนวนสุกร AGE90 ADG FCR BF L1 G H LEA
เพศเมีย 18 337.83 302.85 4.15 1.81 86.94 90.22 54.56 16.67
เพศผู้ 27 359.44 262.36 4.31 1.42 90.15 87.89 57.67 20.22
สมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้
ภาพที่ 3 สุกรพันธุ์จินหัว

จากการศึกษาสมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมสองสายจินหัว ได้ข้อมูลดังนี้

เพศ/สายพันธุ์ ข้อมูล
จำนวนสุกร AGE90 ADG FCR BF L1 G H LEA
เพศเมีย 53 191.63 571.20 3.42 2.57 102.66 105.49 61.58 30.75
JHxD 6 174.82 608.73 3.34 2.83 105.17 109.83 64.33 32.60
JHxH 5 210.57 501.28 3.50 2.26 103.00 105.80 63.40 33.15
JHxLR 13 159.62 680.78 3.15 2.50 105.54 106.15 62.54 31.16
JHxLW 12 174.41 616.09 3.34 2.56 102.33 105.33 62.25 31.31
JHxM 3 237.74 410.28 3.61 2.28 92.67 94.33 55.00 25.61
JHxPT 7 197.55 527.28 3.49 2.59 102.29 107.57 60.86 32.57
เพศผู้ 48 186.85 591.35 3.45 2.50 105.02 104.15 63.33 29.54
JHxD 7 164.89 679.60 3.37 2.70 104.86 105.86 64.71 30.03
JHxLR 12 166.54 658.32 3.20 1.98 107.25 102.13 64.67 29.69
JHxLW 10 176.26 637.55 3.20 2.48 105.70 104.60 63.70 29.53
JHxM 3 243.08 405.79 3.89 2.25 92.33 95.00 58.00 24.55
JHxPT 7 192.29 544.07 3.59 2.69 104.00 106.57 62.86 31.66

จากการศึกษาสมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมสามสายจินหัว ได้ข้อมูลดังนี้

เพศสายพันธุ์ ข้อมูล
จำนวนสุกร AGE90 ADG FCR BF L1 G H LEA
เพศเมีย สามสาย 7 255.83 421.38 3.95 2.84 100.14 103.29 58.57 26.31
เพศผู้ สามสาย 9 219.79 480.73 3.89 2.98 106.44 106.17 62.22 29.00

คำอธิบายตารางสมรรถภาพการผลิต

  • AGE90: อายุเมื่อน้ำหนัก 90 กิโลกรัม (วัน)
  • ADG: อัตราการเจริญเติบโต (กรัมต่อวัน)
  • FCR: ประสิทธิภาพการใช้อาหาร
  • BF: ความหนาไขมันสันหลัง (เซ็นติเมตร)
  • L1: ความยาวลำตัววัดจากซอกหูถึงโคนหาง (เซ็นติเมตร)
  • G: ความยาวรอบอก (เซ็นติเมตร)
  • H: ความสูง (เซ็นติเมตร)
  • LEA: พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (ตารางเซ็นติเมตร)
สมรรถภาพการผลิตของสุกรลูกผสมจินหัว
ภาพที่ 4 ลูกผสมสุกรพันธุ์จินหัว

ข้อมูลการให้ลูกของสุกรพันธุ์จินหัว

จากการดูแลสุกรพันธุ์จินหัวโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สุกร มีข้อมูลการให้ลูกดังนี้

รายการ จำนวน
1. จำนวนครอกที่คลอด 43
2. จำนวนลูกสุกรคลอดเฉลี่ย (ตัว/ครอก) 6.98
3. จำนวนลูกสุกรคลอดมีชีวิตเฉลี่ย (ตัว/ครอก) 4.42
4. จำนวนลูกสุกรหย่านมเฉลี่ย (ตัว/ครอก) 3.23
5. น้ำหนักลูกแรกคลอดเฉลี่ย (ก.ก./ตัว) 0.90
6. น้ำหนักลูกหย่านมเฉลี่ย (ก.ก./ตัว) 4.11
การให้ลูกของสุกรพันธุ์จินหัว
ภาพที่ 5 การให้ลูกของสุกรพันธุ์จินหัว

การนำไปใช้ประโยชน์ (จำหน่าย/สนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ)

สุกรพันธุ์จินหัวได้นำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบของสุกรพันธุ์แท้ และสุกรลูกผสม โดยกระจายไปยังหน่วยงานต่างๆของกรมปศุสัตว์ โครงการฟาร์มตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์การสร้างเสริมอาชีพ และเพิ่มแหล่งโปรตีนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และชนเผ่า ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ร่วมกับโครงการฟาร์มตัวอย่างได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้ และลูกผสม เพื่อสร้างการรับรู้และให้เกิดการยอมรับในคุณภาพเนื้อที่มีความจำเพาะ  แต่เนื่องจากสุกรพันธุ์จินหัวไม่สามารถจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปได้ การขยายตลาดและการเพิ่มจำนวนประชากรจึงยังคงอยู่ในแวดวงจำกัด

สุกรพันธุ์จินหัวได้นำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบของสุกรพันธุ์แท้ และสุกรลูกผสม
ภาพที่ 6 การศึกษาคุณภาพเนื้อและคุณภาพซากสุกรพันธุ์จินหัว

ตารางแสดงสุกรพันธุ์จินหัวพันธุ์แท้ที่ส่งมอบให้หน่วยงานอื่น

วัน เดือน ปี หน่วยงาน ผู้จำนวน เมียจำนวน รวม
26-พ.ย.-42 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย 1 1 2
14-พ.ย.-45 สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร 2 3 5
14-พ.ย.-45 โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านบ่อหวี จังหวัดราชบุรี 1 3 4
10-ก.ย.-46 ฟาร์มตัวอย่างบ้านคลองชีพ จังหวัดพัทลุง 2 6 8
7-มิ.ย.-47 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง 1 - 1
19-ม.ค.-48 สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครสวรรค์ 1 - 1
2-ก.พ.-48 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง 1 1 2
16-ก.พ.-48 ฟาร์มตัวอย่างบ้านคลองชีพ จังหวัดพัทลุง 1 - 1
28-เม.ย.-48 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง 1 2 3
13-ม.ค.-49 โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 1 - 1
6-มี.ค.-49 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น และดอยผาจิก บ้านร่มฟ้าทอง จังหวัดเชียงราย 1 1 2
21-ส.ค.-49 ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานีตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง 1 2 3
19-ธ.ค.-49 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง 1 3 4
19-ก.พ.-50 ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทองตามโครงการฟาร์มตัวอย่าง 2 1 3
รวม 17 23 40

ตารางที่แสดงสุกรพันธุ์จินหัวลูกผสมที่ส่งมอบให้หน่วยงานอื่น

วัน เดือน ปี หน่วยงาน ผู้จำนวน(ตัว) เมียจำนวน(ตัว) รวม (ตัว)
3-ต.ค.-43 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จังหวัดชลบุรี 2 10 12
16-พ.ย.-43 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย 2 10 12
26-พ.ย.-43 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ 1 13 14
11-ม.ค.-44 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ตามโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านแม่ตุงติง 3 7 10
13-พ.ย.-45 สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร 2 2 4
6-ธ.ค.-50 สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนคร 12 4 16
รวม 22 46 68

สถานะปัจจุบัน

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกรมีสุกรพันธุ์จินหัวอยู่ในความดูแลจำนวน 16 ตัว ประกอบด้วย สุกรพ่อพันธุ์ จำนวน  3 ตัว สุกรแม่พันธุ์  13 ตัว ยังไม่มีลูกสุกร รายละเอียดตามตารางข้างล่าง

ประเภทสุกร เพศเมีย เพศผู้ รวม
พ่อพันธุ์ - 3 3
แม่พันธุ์ 5 - 5
แม่สาว 1 - 1
สุกรทดแทน - 7 7
ผลรวมทั้งหมด 6 10 16

ข้อมูล ณ  วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565