ข้อมูลองค์กร

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร

นายสัมฤทธิ์ แสนบัว
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
ตำแหน่งผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา
ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2538 - พ.ศ.2551
นายวิศาล ศรีสุริยะ
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
ตำแหน่งผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา
ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2551 - พ.ศ.2554
นายจงเจษฎ์ ศรีกระจ่าง
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
ตำแหน่งผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา
ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2554 - พ.ศ.2556
นายวิชัย ทิพย์วงค์
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
ตำแหน่งผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา
ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2556 -
นายกมล ฉวีวรรณ
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร
ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2559 -พ.ศ.2564

นายวิรัลพัชร อวิรุทธพานิชย์ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

นายวิรัลพัชร อวิรุทธพานิชย์
นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

เดิมสังกัด โครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์สุกรและขยายการผลิต ภายใต้การดูแลของ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับกรมปศุสัตว์ ดำเนินการที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จากนั้นได้เคลื่อนย้ายมากจาก ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (เดิมเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) มาตั้งหน่วยงานที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และใช้ชื่อใหม่ว่า “สถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกรนครราชสีมา” สังกัดกรมปศุสัตว์ ต่อมาในการปรับโครงสร้างใหม่ภาครัฐในปีงบประมาณ2546 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา” สังกัดกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ในปีงบประมาณ2560 เป็นศูนย์เฉพาะสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร” ซึ่งมีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาสุกรในส่วนภาครัฐของประเทศไทย 

ภาพอาคารอำนวยการ เมื่อครั้งสร้างเสร็จใหม่ๆ

ภาพอาคารอำนวยการ เมื่อครั้งสร้างเสร็จใหม่ๆ
ภาพอาคารอำนวยการ เมื่อครั้งสร้างเสร็จใหม่ๆ 
 

ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร เดิมชื่อว่าศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา สังกัดสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 78 ถนนเลี่ยงเมือง ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 ใกล้เคียงกับศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม (ชื่อเดิม สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปากช่อง) และสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร มีเนื้อที่ 350 ไร่ ห่างจาก อำเภอปากช่อง ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครราชสีมาประมาณ 80 กิโลเมตรและห่างจากจังหวัดสระบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร โดยมีจุดสังเกตคือมีรูปปั้นสุกรตัวใหญ่อยู่ด้านหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

รูปปั้นสุกรตัวใหญ่อยู่ด้านหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

รูปปั้นสุกรขนาดใหญ่ตั้งด้านหน้าศูนย์
รูปปั้นสุกรขนาดใหญ่ตั้งด้านหน้าศูนย์ 
 

ภาพกิจกรรมในอดีต

ท่าน ผอ.สัมฤทธิ์ แสนบัว อดีตผู้อำนวยการ นำคณะตรวจเยี่ยม
ท่าน ผอ.วิศาล  ศรีสุริยะ อดีตผู้อำนวยการ เป็นวิทยากร ให้ความรู้น้องๆนักศึกษา 
พิกัดสํานักงานบริเวณหน้าเสาธง
Decimal Degrees(WGS84) Latitude 14.66697 Longitude 101.44868/UTM 47NX763725Y1622919 (อ้างอิง http://boulter.com/gps/#14.66697%2C%20101.44868)
 
 ป้ายชื่อ “สถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกร นครราชสีมา”
ป้ายชื่อ “สถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกร นครราชสีมา”
ป้ายชื่อ “สถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกร นครราชสีมา” 
 

กิจกรรม

  1. เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์จำนวน 420 แม่ เพื่อผลิตลูกให้ได้ประมาณ 6,000 ตัว โดยประกอบด้วยสุกรพันธุ์แลนด์เรช ลาร์จไวท์ ดูร็อค เปียแตรง ปากช่อง 3 ปากช่อง 4 ปากช่อง 5 แฮมเชียร์ และพันธุ์สัตว์พระราชทาน คือสุกรพันธุ์เหมยซาน และพันธุ์จินหัว
  2. ดำเนินการทดลองวิจัยและพัฒนา (Research and Development, R&D) เกี่ยวกับสุกร ด้านปรับปรุงพันธุ์ จัดการฟาร์ม อาหาร สุขภาพ สรีระวิทยา อณูพันธุศาสตร์ การสุขาภิบาล และการจัดการสิ่งแวดล้อม
  3. ดำเนินการอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยราชการและเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เพื่อให้มีความรู้ในการเลี้ยงสุกรที่ถูกต้องตลอดจนจัดทำผลิตภัณฑ์จากสุกร
  4. ดำเนินการทดสอบพันธุ์สุกร ปีละประมาณ 600 ตัว เพื่อคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สุกรพันธุ์ดี
  5. เป็นศูนย์ผลิตน้ำเชื้อสุกร โดยรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วไป
  6. ผลิตสุกรพันธุ์ดีที่ผ่านการทดสอบพันธุ์ ให้กับศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ในสังกัดกรมปศุสัตว์ทั่วประเทศ
  7. จำหน่ายสุกรพันธุ์ให้กับหน่วยงานราชการ กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรฟาร์มเครือข่ายและเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วไป ตามราคาจำหน่ายสุกรพันธุ์ของกรมปศุสัตว์

 ทีมบุกเบิกทีมแรกๆ ที่ย้ายมาจาก กำแพงแสน

ทีมบุกเบิกทีมแรกๆ ที่ย้ายมาจาก กำแพงแสน
ทีมบุกเบิกทีมแรกๆ ที่ย้ายมาจาก กำแพงแสน 
 

วิสัยทัศน์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

พันธุกรรมเด่น เน้นเครือข่าย กระจ่ายพันธุ์ดี

 

พันธกิจ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

วิจัยพัฒนาสุกรพันธุ์ดี เพื่อพัฒนาการผลิตสุกรของประเทศ

แผนที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

ความภาคภูมิใจของเรา ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร

PC5 อีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของเรา

ทีมวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ใช้เวลากว่า 6 ปี ในการวิจัยและพัฒนาสุกร จนได้สายพันธุ์ใหม่ ชื่อว่า "พันธุ์ปากช่อง 5" สำหรับใช้เป็นพ่อพันธุ์คุณภาพดี เพื่อแก้ปัญหาพ่อพันธุ์ขาดตลาดอยู่ขณะนี้

สุกรพันธุ์ปากช่อง5 นี้ เกิดจากสุกร 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ดูร็อค ที่มีจุดเด่นโตเร็ว และพันธุ์เปียแตรง ที่มีปริมาณเนื้อแดงสูง มาผสมพันธุ์กันโดยมีสัดส่วนพันธุกรรมสุกรพันธุ์ดูร็อค 62.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์เปียแตรง 37.5 เปอร์เซ็นต์ จนได้ลักษณะเด่น คือ โตเร็ว มีอัตราการเจริญเติบโตวันละ 852 กรัม ให้ปริมาณเนื้อแดงสูง ประมาณ 39 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ไม่ต้องใช้สารเร่งเนื้อแดง, ไขมันสันหลังบาง มีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร, ลำตัวยาว รูปร่างลักษณะภายนอกเป็นมัด มีกล้ามเนื้อเด่นชัด ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม และที่สำคัญ คือไม่มียีนเครียด ให้ลูกสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถถ่ายทอดลักษณะเหล่านี้ ไปยังรุ่นลูกด้วย

ส่วนวิธีการเลี้ยง ตั้งแต่แรกเกิด จะใช้อาหารสุกรขุนทั่วไปที่มีปริมาณโปรตีน 15 เปอร์เซ็นต์ มาเลี้ยงจนลูกสุกร มีน้ำหนักตัวประมาณ 90 ถึง 110 กิโลกรัม หรือใช้เวลาเลี้ยง 167 วัน ก็จะขายเป็นสุกรขุนได้แล้ว แต่หากเลี้ยงต่อ จนมีน้ำหนักมากกว่านี้ ก็จะมีไขมันสะสมในซากมากขึ้น

ขณะนี้ กรมปศุสัตว์ กำลังเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรในฟาร์มเครือข่าย และกลุ่มเกษตรกรจำนวน 550 ราย ใน 44 จังหวัด นำไปเลี้ยงสร้างรายได้ 

ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานความสำเร็จของกรมปศุสัตว์ ในการพัฒนาสายพันธุ์สุกร ให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร และตลาดมาขึ้น

srdc free beta agonist

srdc free fmd

srdc gap

srdc sperm standard